เรื่องล่าสุด
-
สกุล Rhipsalis
พฤษภาคม 10, 2025
-
กลุ่ม Echinocactus
พฤษภาคม 9, 2025
-
กลุ่ม Lobivia
พฤษภาคม 9, 2025
-
สกุล Echinocereus
พฤษภาคม 8, 2025
-
กลุ่ม Echinocereus
พฤษภาคม 8, 2025
-
สกุล Melocactus
พฤษภาคม 8, 2025
-
สกุล Sulcorebutia
พฤษภาคม 7, 2025
-
กลุ่ม Astrophytum
พฤษภาคม 7, 2025
-
ขั้นตอนการเพาะเมล็ด
พฤษภาคม 6, 2025
-
กลุ่ม Ario carpus
พฤษภาคม 6, 2025
|

สกุล Thelocactus แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 25 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Thelocactus มาจากภาษากรีก ที่หมายถึง แคคตัสหัวนม (nipple cactus) มีลักษณะทรงกลมหรือทรงกระบอก สีเขียวถึงสีเทาอาจจะขึ้นอยู่เป็ยกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ ก็ได้ โครงสร้างของพูกลีบมีลักษณะเป็นหัวย่อยๆ มากมาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน มีประมาณ 20 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ มักมีปุยสีขาวหรือสีครีมปนอยู่ด้วย ประกอบไปด้วยหนามข้างค่อนข้างเล็ก และแข็งแรงปานกลาง มักขึ้นแผ่กระจายแนบขนานไปกับลำต้น ประมาณ 25 อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 3 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางแข็งแรงกว่าหนามข้าง มีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น โค้งงอ หรืออ้วน และมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีดำ มีอยู่ประมาณ 1-4 อัน
ดอกมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว สีแดง สีม่วงแดง มีลักษณะบานแผ่ออกกว้าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-7 เซนติเมตร ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะแห้งและแตกออก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
แคคตัสในสกุล Thelocactus มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ช้า แต่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ชอบดินที่มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก และควรงดให้น้ำในฤดูหนาว เพื่อให้สามารถทนต่อสภาพอากาศหนาว และอุณหภูมิต่ำได้

กลุ่ม Rebutia แคคตัสกลุ่มนี้เป็นพืชพื้นเมืองของทางภาคใต้อเมริกา มีลักษณะรูปร่างลำต้นเป็นทรงหลอดยาว บางพันธุ์ก็มีทรงกลม แตกเป็นกอและออกดอกที่ปลายหลอด (ต้น) ดอกนั้นก็มีหลากหลายสีด้วยกัน เช่น สีส้ม สีเหลือง สีครีม สีชมพู และสีแดง สำหรับสายพันธุ์ ก็มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ ได้แก่ Rebutia haagei , Rebutia costata, Rebutia fiebrigii, Rebutia pseudodeminuta , Rebutia aureiflora , Rebutia pygmaea เป็นต้น

กลุ่ม Cereus แคคตัสกลุ่มนี้เรารู้จักกันในชื่อของกระบองเพชร จึงไม่มีใบหรือ giochids (หนามหรือขนแข็งที่มีปลายโค้งงอ อาจจะอยู่รวมกันเป็นกระจุกๆ ) เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะต้นเป็นทรงกระบอก มีสันและหนามปกคลุม หรือไม่มีก็ได้
แคคตัสในกลุ่มนี้ปลูกเลี้ยงง่ายและชอบแสงแดดมาก มีอยู่ด้วยกันหลายสกุล เช่น Armatocereus , Arrojadoa, Bergerocactus , Borzicactus , Brachycereus , Browningia , Calymmanthium , Carnegiea , Cephalocereus , Cereus , Chamaecereus , Cleistocactus ,Corryocactus , Dendrocereus , Echinocereus , Erdisia , Escontria , Eulychnia , Harrisia , Hildwinters , Jasminocereus , Lemaireocereus , Lophocereus , Machaerocereus , Micranthocereus , Monvillea , Mytillocactus , Neoraimondia , Nyctocereus , Pachycereus , Peniocereus , Pilosocereus , Rathbunia , Selenicereus , Stetsonia Trichocereus , Cereus jamacaru , Cereus peruvianus , Cereus Chalybaeus เป็นต้น
การขยายพันธุ์แคคตัสโดยการต่อยอด ปัจจุบันเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะกับแคคตัสพันธุ์ที่มีสีสันต่างๆ ที่ไม่ใช่สีเขียว เช่น สกุล Gymnocalycium นำมาต่อกับต้นตอสีเขียว เช่น สกุล Cereus , Trichocereus หรือ Opuntia ซึ่งมีสารคลอโรฟีลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร ดูดน้ำ และแร่ธาตุ ไปเลี้ยงต้นที่มีสีซึ่งหาอาหารเองไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เป็นการนำส่วนของต้นที่เจริญเติบโตช้าต่อเข้าต้นต่อของต้นที่แข็งแรงและโตเร็วกว่า การต่อยอดช่วยร่นระยะเวลาในการออกดอก ซึ่งตามปกติ แคคตัสจะใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 1-2 อย่างปี กว่าจะเจริญเติบโตจนสามารถออกดอกได้ บางสกุลจะใช้เวลานานถึง 10-20 ปีเลยทีเดียว การต่อยอดจึงช่วยให้ต้นแตกกิ่งก้าน และออกดอกเร็วกว่าปกติ ยกเว้นบางสกุลที่มี cephalium เช่น Melocactus , Discocactus ที่การต่อยอดไม่มีผลในการร่นระยะเวลาการออกดอกนัก
นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการต่อยอดเพื่อจะได้ตัดส่วนที่แตกใหม่ไปใช้ในการแพร่พันธุ์ เนื่องจากแคคตัสบางชนิดไม่แตกสาขาออกไป แต่จะแตกก็ต่อเมื่อนำไปต่อเข้ากับต้นอื่น หรืออีกประกานหนึ่ง คือ เพื่อช่วยในการรักษาต้นที่เสียรากไปเอาไว้ได้ หรือใช้ในการปลูกพันธุ์ที่เติบโตด้วยรากของตัวเองได้ลำบาก ในการต่อยอดแคคตัสนั้นไม่มีการจำกัดอายุของต้นว่าควรเป็นเท่าใด แต่ต้นอ่อนจะสามารถต่อได้ง่ายกว่าเพราะไม่แข็งจนเกินไปนัก ดังนั้นถ้าเป็นแคคตัสที่มีอายุ 1-2 ปี จึงสามารถนำไปต่ดยอดได้ผลเป็นอย่างดี
อุปกรณที่สำหรับใช้ในการต่อยอดมีเพียงที่สะอาดและคมมากๆ เช่น ใบมีดโกน โดยวิธีการต่อยอดทำได้ง่ายๆ คือใช้มีดปาดส่วนยอดของต้นตอ (stock) และโคนของต้นพันธุ์ (scion) ต้องระวังให้รอยตัดเรียบสม่ำเสมอ เฉือนมุมต้อตอแต่ละด้านให้ลาดเอียงประมาณ 45 องศา เพื่อช่วยระบายน้ำไม่ให้ขังเป็นแอ่งเบริเวณรอยต่อ ส่วนโคนของต้นพันธุ์ควรเฉือนให้เรียบเสมอกันและให้พื้นที่หน้าตัดเหมาะสมกับต้นตอ คือ ควรให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรอยตัดใกล้เคียงกัน เพราะเนื้อเยื่อพืชแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกที่เรียกว่า epidermis ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ชั้นอื่นๆ และเนื้อเยื่อชั้นในซึ่งเรียกว่า vascular tissue ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการลำเลียงน้ำและอาหาร เนื้อเยื่อชั้นนอกของพืชจะเจริญเติบโตเร็วกว่าชั้นในถ้าเนื้อเยื่อชั้นนอกของต้นตอและต้นพันธุ์เชื่อมติดกันและขยายขนาดจนรอยต่อสูงขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อขั้นในที่เจริญเติบโตช้ากว่าไม่เชื่อมติดกัน ต้นพันธุ์จะขาดน้ำและอาหารจนตายไปในที่สุด
เมื่อตัดเฉือนทั้งต้นตอและต้นพันธุ์แล้ว ให้นำต้นพันธุ์มาวางซ้อนบนต้นตอ ยึดด้วยด้ายหรือเทปใส จากนั้นนำกระถางไปวางไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีระดับความชื้นในอากาศไม่สูงมากนัก ในระยะแรกๆ นั้นไม่ควรรดน้ำ รอไปสักประมาณ 1-2 สัปดาห์ รอยต่อจะเชื่อมกันจึงแกะด้ายออกหรือเทปใสออก ในระยะนี้ต้องดูแลให้โคนเปียกชื้นโดยการรดน้ำที่โคนต้น และหาร่มเงาให้ยอดที่แตกใหม่ และให้อยู่ในที่อบอุ่นเป็นเวลาประมาณ 10-14 วัน หากยอดที่ต่อใหม่ไม่หักลงมาก็ถือว่าใช้ได้ และสามารถดูแลได้ตามปกติ

สกุล Pilosocereus แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 50 ชนิด ชื่อสกุล Pilosocereus มาจากภาษาละติน หมายถึง ขนจำนวนมากคล้ายเส้นผม ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้าน สูง 1-10 เมตร ต้นสีเขียวอ่อนเป็นสัน 6-14 สัน ตุ่มหนามปกคลุมด้วยหนามจำนวนมาก ประกอบด้วยหนามข้าง 5-25 อัน แต่ละอันยาว 1-2 เซนติเมตร และหนามกลาง 8 อัน แต่ละอันยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งในบางชนิดนั้นพบว่าหนามกลางและหนามข้าง ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ชัดเจน หนามมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล
ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีหลายสี เช่น สีขาว สีขาวอมเขียว สีชมพู และสีม่วง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.5 เซนติเมตร มักเกิดที่บริเวณส่วนบนของต้นที่มีขนปกคลุมเป็นจำนวนมาก ผลทรงกลม ผิวเกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร
แคคตัสสกุล Pilosocereus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบราซิล คิวบา เม็กซิโก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา และหมู่เกาะเวสต์อินดีส ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการเพาะเมล็ดและการตัดชำ แต่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้
|
|