เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

สกุล Parodia

Parodia

สกุล Parodia แคคตัสในสกุลนี้มีมากกว่า 100 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Parodia ต้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Domingo Parodi นักพฤกษาศาสตร์ชาวปารากวัย ลักษณะลำต้นอ้วนแป้นเป็นทรงกระบอก ตามปกติมักจะขึ้นอยู่เป็นต้นเดี่ยวๆ ลำต้นเป็นสัน มีประมาณ 12-15 สัน เรียงเวียนเป็นเกลียว ตุ่มหนามเป็นปุยนุ่ม การผลิหนามมีหลายลักษณะ เช่น เป็นหนามตรง หรือโค้งงอเป็นตะขอ หนามข้างมีลักษณะละเอียด มีอยู่ประมาณ 10-40 อัน ส่วนหนามกลางลักษณะแข็งแรงง มีอยู่ประมาณ 1-10 อัน หนามมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลออกแดง ดอกมีลักษณะทรงกรวย ผิวด้านนอกของดอกเป็นเกล็ด มีขนหรือหนามแข็งปกคลุม มีหลายสี เช่น สีเหลือง สีส้มสดใส และสีแดง ส่วนท่อดอกมีขนาดสั้นมาก ผลมีสีครีมหรือสีน้ำตาลซีด มีทรงกลมหรือรี มีขนแข็งเล็กๆ ปกคลุม และจะแห้งเมื่อแก่เต็มที่

แคคตัสสกุล Parodia มีถิ่นกำเนิดอยู่ในโบลิเวีย ทางตอนเหนือของอาร์เจนติน่า ปารากวัย และบราซิล ปลูกเลี้ยงง่ายออกดอกตลอดปี แต่ก็มีบางชนิดที่จะต้องใช้เวลานานถึง 18 เดือนถึงจะงอกออกจากเมล็ด ชอบแสงแดดจัด ดินที่มีการระบายน่้ำดี ในฤดูร้อนควรให้น้ำมาก แต่ในฤดูหนาวควรงดการให้น้ำจะช่วยให้สามารถทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ดี เช่น Parodia penicillata ที่สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง 2-3 องศาเซลเซียส

ความเป็นมาของแคคตัส

Cactus

ต้นตระกูลของแคคตัสเริ่มในช่วงยุค Mesozonic และช่วงต้นของยุค Teriaary ซึ่งเป็นยุคที่พืชมีดอกมีการพัฒนามากที่สุด แต่เดิมนั้นแคคตัสมีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ เท่าไรนัก ยังคงมีใบที่แท้จริงและมีทรงต้นเหมือนๆ กับพืชชนิดอื่น แต่ด้วยเหตุผลที่ต้องเผชิญกับอากาศและสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนลดลงและอากาศที่ร้อนแห้ง จึงส่งผลกระทบต่อพืชในแถบนี้ที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง จึงต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศเพื่อให้สามารถต้านทานต่อสภาพแวดล้อมเช่นนี้ให้ได้ จึงมีการเก็บสะสมน้ำจำนวนมากไว้ที่ลำต้น ทำให้ลำต้นมีลักษณะอวบอ้วนและสั้นลง

แคคตัสเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังแหล่งอื่นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ กัน เช่น แคคตัสสกุล Rhipsalis แพร่พันธุ์อยู่ในแอฟริกาและอินเดียโดยนก หรือแคคตัสสกุล Opuntia ซึ่งมีผู้นำเข้าไปปลูกเลี้ยงในทวีปยุโรป เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยเอง ไม่ได้มีการบันทึกประวัติไว้อย่างแน่ชัดว่ามีการนำเข้าแคคตัสเข้ามาปลูกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่คาดว่าน่าจะยาวนานกว่า 30 ปีมาแล้ว โดยในสมัยก่อนมีแคคตัสเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่าไร อย่างเช่น ใบเสมอ หรือโบตั๋น เป็นต้น

การให้น้ำแคคตัส

Watering cactus

แคคตัสเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก แต่ถ้าแคคตัสขาดน้ำ แม้จะไม่ตายเพราะในต้นมีน้ำเลี้ยง แต่ก็จะไม่เจริญเติบโตงอกงามเท่าที่ควร เพราะขาดน้ำที่เพียงพอ

วิธีการให้น้ำแคคตัสอย่างถูกต้อง คือ ไม่ควรรดน้ำทุกวัน ให้ดูที่สภาพของดินก่อน ถ้าดินเริ่มแห้งจึงจะรด อาจจะรดทุกๆ 2-3 วัน หรือไม่ควรถี่จนเกินไป หรือถี่แบบวันเว้นวัน ควรรดน้ำให้โชกถึงราก แต่ระวังอย่าให้น้ำขังหรือดินแฉะ เพราะจะทำให้แคคตัสเน่าหรือเป็นโรคตายได้

แคคตัสแต่ละพันธุ์มีความต้องการน้ำและความถี่ในการรดน้ำแตกต่างกันออกไป มีวิธีทดสอบได้อย่างง่ายๆ คือ การปักไม้แห้งเล็กๆ ลงไปให้ลึกถึงโคนกระถางในวันที่รดน้ำ จากนั้นให้คอยสังเกตว่าไม้ยังชื้นน้ำอยู่หรือไม่ หากไม้แห้งเมื่อใดก็แสดงว่าถึงเวลาให้น้ำครั้งต่อไปแล้ว เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่รดน้ำครั้งแรกจนถึงวันที่ไม้ที่ปักแห้ง ก็จะได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำให้แก่แคคตัสพันธุ์นั้นๆ

โรคทางกายภาพ

cimg1468-500x375

โรคทางกายภาพ เกิดจากสภาพการเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง มีหลายอาการ เช่น
1. ยอดต้นเริ่มเปลี่ยนสี ยุบและเน่าในทันที เกิดจากการให้น้ำมาเกินไป โดยเฉพาะในฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ พบมากในสกุล mammillaria
2. ต้นไม่เจริญเติบโต เกิดจาการให้น้ำมากเกินไป ดินอัดแน่นจนเกินป หรือรากเน่า แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนดินใหม่โดยให้ใช้ดินผสมและควรปรับปรุงการให้น้ำ
3. ลำต้นหรือใบเหลือง เกิดจากการที่ต้นได้รับความร้อนหรือแห้งจนเกินไป แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนระบบระบายอากาศและความชื้น
4. ลำต้นหรือใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกิดจากการที่ดินมีฤทธิ์เป็นด่าง และขาดธาตุเหล็ก แก้ไขได้โดยตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง ของดิน และควรเติมธาตุเหล็กลงในดิน
5. ต้นมีสีซีดจาง เกิดจากรากเป็นแผล แก้ไขโดยการตัดรากที่ตายหรือถูกทำลายนั้นทิ้งไป และเปลี่ยนกระถางใหม่
6. ต้นมีลักษณะยืดยาว เกิดจากการที่ได้รับแสงไม่เพียงพอ แก้ไขโดยการย้ายกระถางไปตั้งในที่มีแสงสว่างเพียงพอ
7. ตาดอกไม่ผลิดอกเกิดจากการที่สภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิต่ำ หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แก้ไขโดยการย้ายกระถางไปตั้งในที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมหรือสูงขึ้น
8. ดอกน้อยหรือดอกไม่บาน เกิดจากการที่ต้นไม้ได้รับธาตุไนโตรเจนมากจนเกินไปหรือไม่ได้พักตัวในช่วงฤดูหนาว แก้ไขโดยการให้ธาตุไนโตรเจนน้อยลง เพิ่มธาตุฟอสฟอรัส และควรให้พืชได้พักตัวในช่วงฤดูหนาว
9. ต้นอ่อนนุ่ม เกิดจากการที่สภาพแวดล้อมมีความชื้นสูงจนเกินไป และมีอุณหภูมิต่ำ แก้ไขโดยการลดความชื้น ตัดส่วนที่อ่อนนุ่มทิ้งไป และใช้ยากันราโรย
10. ต้นใส เกิดจากการที่สภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง แก้ไขโดยการย้ายต้นไปไว้ในที่แห้งและที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำจนเกินไป

กลุ่ม Mammillaria

Mammillaria

กลุ่ม Mammillaria เป็นกลุ่มที่มีอยู่มากมาย มากถึง 200 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป อาจจะเป็นได้ทั้งต้นเดี่ยว หรือเป็นแบบพุ่มกอ มีหนวดดกแหลมคม คล้ายกับเข็ม หนามมีลักษณะคล้ายกับเส้นผม ลำต้นสูงไม่มากนัก ประมาณ 8-10 ฟุต สำหรับสกุลนี้รู้จักกันดี ได้แก่ Mammillaria และ Neolloydia มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เช่น Memmillaria zeilmanniana , Mammillaria wildii, Mammillaria rhodantha , Mammillaria microhelia , Memmillaria martinezii , Memmillaria pringleim , Memmillaria thereae, Memmillaria candida , Memmillaria solisii , Memmillaria tolimensis , Memmillaria autihamata เป็นต้น