เรื่องล่าสุด
-
สกุล Gymnocalycium
มีนาคม 19, 2025
-
สกุล Echinocactus
มีนาคม 18, 2025
-
สกุล Uebelmannia
มีนาคม 18, 2025
-
ดินปลูกสำหรับแคคตัส
มีนาคม 17, 2025
-
สกุล Ferocactus
มีนาคม 17, 2025
-
สกุล Dolichothle
มีนาคม 16, 2025
-
สกุล Aztekium
มีนาคม 16, 2025
-
สกุล Corypantha
มีนาคม 15, 2025
-
สกุล Lophocereus
มีนาคม 15, 2025
-
กลุ่ม Hylocereus
มีนาคม 14, 2025
|
ส่วนประกอบของแคคตัส แคคตัสส่วนใหญ่จะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ขนาดก็มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 5 เมตร จนถึงต้นที่มีขนาดใหญ่ๆ ซึ่งจะสูงประมาณ 24-25 เมตร ส่วนประกอบอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายๆ กันคือ
ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง และมีส่วนประกอบที่เรียกว่าตุ่มหนาม ไม่มีใบที่แท้จริง เพราะใบลดรูปกลายเป็นหนาม ช่วยลดการคายของน้ำ ยกเว้นสกุล Pereskia ที่ยังคงมีใบที่แท้จริงให้เห็นอยู่และยังช่วยดูดเอาไอน้ำในอากาศมาเก็บไว้ ดอกเป็นแบบไม่มีก้านดอก มักเกิดจากตาดอกที่บริเวณตุ่มหนาม ยกเว้นสกุล Echinocereus ซึ่งมีตาดอกเกิดที่ผิวต้นใกล้เนินหนามสกุล Mammillaria และ Coryphantha ซึ่งมีตาดอกเกิดระหว่างซอกเนินหนาม สกุล Melocactus , Iscocactus และ Cephalacereus ที่สามารถเกิดตาดอกขึ้นที่ส่วนยอดของต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวหรือสีครีม […]
การจำแนกสายพันธุ์ของแคคตัสเป็นกลุ่ม
แคคตัสจัดเป็นพืชในวงศ์ Cactaceae มีอยู่ทั่วโลกทั้งสิ้น 50-150 สกุลด้วยกัน หรือประมาณ 2,000 ชนิด ซึ่งแบ่งตามวิธีของ Gordon Rowley (หนังสือ The Illustrated Encyclopaedia of Succulents) ได้เป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
กลุ่ม Ario Carpus กลุ่ม Astrophytum กลุ่ม Cereus กลุ่ม Echinocactus กลุ่ม Echinocereus กลุ่ม Echinopsis กลุ่ม Epiphyllum กลุ่ม Hylocereus กลุ่ม Lobivia กลุ่ม Mammillaria กลุ่ม Melocactus กลุ่ม Neopoteria กลุ่ม Opuntia กลุ่ม Pereskia กลุ่ม Pilocereus กลุ่ม Rebutia […]
ภาชนะปลูกแคคตัส ในปัจจุบันนี้กระถางดินเหนียวยังคงได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะน้ำซึมผ่านได้เร็ว จึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาการให้น้ำมากเกินจนต้นตาย แต่ข้อเสียของกระถางชนิดนี้ก็มีอยู่บ้าง นั่นคือ กระถางดินเหนียว มีรูพรุน น้ำจึงระเหยออกด้านข้างกระถางได้เรื่อยๆ ทำให้อาหารในดินสูญเสียไป จะสังเกตได้ว่าถ้าปลูกแคคตัสต้นเล็กๆ ในกระถางนี้ ต้นที่อยู่ในบริเวณกลางกระถางจะมีลักษณะแคระแกร็น ปัญหาการระเหยของน้ำนี้อาจแก้โดยการฝังกระถางบางส่วนไว้ใต้ทราย กรวด หรือถ่านพีท แต่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกก็คือ รากจะงอกทะลุรูที่ฐานกระถางลงสู้พื้นดินได้
ส่วนกระถางพลาสติกนั้นจะไม่ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นไปตามผิวกระถางเหมือนกระถางดินเหนียว เพราะน้ำจะระบายออกทางรูที่ฐานเท่านั้น นอกจากนี้กระถางพลาสติกยังมีน้ำหนักเบา และไม่มีตะไคร่ขึ้นตามผิวกระถางด้วย แต่ปัญหาในการใช้กระถางพลาสติกนั้นก็คือ ถ้าใช้ในที่มีอุณหภูมิสูงในฤดูร้อนเป็นเวลา 2-3 ปี กระถางกรอบจะเริ่มแตก ดังนั้นสถานที่ที่เหมาะสมกับกระถางชนิดนี้มากที่สุด คือ บริเวณในร่มและตามขอบหน้าต่าง
วิธีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมและสามารถใช้ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การปลูกเป็นแนวยกชั้น (staging beds) โดยแต่ละชั้นจะมีความลึกประมาณ 5-6 นิ้ว และปูรองด้วยแผ่นพลาสติก โดยอาจจะมีหรือไม่มีรูระบายน้ำก็ได้ นอกจากนี้การเลือกประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำกระถางปลูกแล้ว ขนาดของกระถางก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกกระถางให้มีความเหมาะสมกับต้น โดยพิจารณาจากเนื้อที่ว่างระหว่างผิวต้นกับขอบกระถาง หากเหลือเนื้อที่น้อยกว่า 1 นิ้ว แสดงว่าแคคตัสมีขนาดโตเกินไปสำหรับกระถาง ควรเปลี่ยนใหม่ ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม แต่ทั้งนี้ไม่ควรเลือกกระถางที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้ต้นโตช้า เนื่องจากวัสดุปลูกอุ้มน้ำมากเกินไปและบางครั้งอาจทำให้รากเน่าตายได้ […]
สกุล Copiapoa แคคตัสในกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิดและมีอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Copiapoa มาจากชื่อของเมืองโคเปียในประเทศชีลี แคคตัสสกุลนี้มีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งต้นขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางแค่ 2-3 เซนติเมตร จนถึงต้นที่มีขนาดใหญ่สูงกว่า 1 เมตร บ้างก็ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ บ้างก็ขึ้นรวมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ขนาดใหญ่ สีของต้นมีทั้งสีเทา สีฟ้าอมเทา จนไปถึงสีเขียว ตุ่มหนามมักมีขนาดใหญ่ เป็นรูปไข่และมีขนขึ้นปกคลุมเป็นปุยนุ่ม หนามก็มีลักษณะแตกต่างกันหลายประเภท แม้แต่ในชนิดเดียวกันหนามก็อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันได้ และมักจะไม่สามารถแยกหนามกลางและหนามข้างออกจากกันได้อย่างชัดเจนนัก แต่ก็พอจะแยกได้ว่าหนามข้างจะมีประมาณ 1-13 อัน ส่วนหนามกลางอาจจะมีถึง 20 อันหรือมไ่ม่มีก็เลย ชนิดที่มีต้นขนาดเล็ก มักมีหนามเล็กละเอียด ชนิดที่มีขนาดใหญ่หนามก็จะแข็งแรงและยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร หนามอาจมีลักษณะตั้งตรงหรือโค้งงอ มีหลายสีตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลแดง จนถึงสี ดำ
ดอกส่วนใหญ่อยู่ในเฉดสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5 เซนติเมตร เกิดในบริเวณปุยนุ่มที่ยอดต้น ผลมีลักษณะทรงกลม ขนาดเล็ก มีสีเทาจนถึงสีออกเหลือง เมื่อผลสุกจะแตกออกแคคตัสสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเหนือของชิลี พบมากในบริเวณแห้งแล้งกันดาร […]
แคคตัสบางพันธุ์สามารถปลูกในอาคารได้ดี แต่บางพันธุ์ก็ต้องการแสงแดดมาก ช่วงแสงที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้นควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ที่แดดไม่ร้อนจนเกินไปนัก ควรจัดวางภาชนะปลูกแคคตัสไว้ริมหน้าต่างที่แสงแดดสามารถส่องถึงได้ในตอนเช้า หรือถ้าหากตั้งไว้ในที่มีไม่มีแสงแดดเลย ก็ควรนำออกไปตากแดดริมหน้าต่างบ้าง เพียงวันละ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้ตามแต่ความเหมาะสม และการดูแล
ต้นแคคตัสที่ได้รับแสงแดดในปริมาณที่พอเหมาะจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี สีสันของหนามและของต้นจะสวยงาม แต่ถ้าหากได้รับแสงแดดจนมากเกินไปจะทำให้ต้นแห้ง เป็นสีน้ำตาล ดังนั้น ควรให้ร่มเงาหรือพรางแสงให้กับสถานที่เลี้ยงแคคตัสด้วย โดยให้เหลือแสงประมาณ 70-80 เปอร์เซน ก็พอแล้ว
สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้ แคคตัสส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อน บางชนิดอยู่ได้ในทะเลทรายดังนั้น ในประเทศไทยซึ่งมีอากาศค่อนข้างร้อน จึงเหมาะสมสามารถปลูกเลี้ยงแคคตัสได้ดีเกือบทุกฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรือนที่อุณหภูมิประมาณ 27-32 องศาเซลเซียส หรือในช่วงเดือนเมษายนที่มีอุณหภูมิถึง 38 องศาเซลเซียสก็ตาม สำหรับในช่วงฤดูหนาวนั้น ถ้าเป็นแคคตัสที่พึ่งตัดชำก็จะทำให้ออกรากช้า หรือถ้าเป็นต้นที่อยู่ตัวดีแล้วก็อาจจะทำให้เจริญเติบโตช้าลงไปบ้างเท่านั้น
|
|