เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

สกุล Cephalocereua

สกุล Cephalocereua แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Cephalocereus Senilis ชื่อสกุล Cephalocereus มาจากภาษากรีก หมายถึง Cehpalium ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดดอก ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีสีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อมีอายุมากขึ้น ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ลำต้นเป็นสันเตี้ย ประมาณ 30 สัน ตุ่มหนามอยู่ชิดติดกัน มีหนามสีเหลืองหรือสีเทา 5 อัน ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีขนสีขาว หรือสีเทาหยาบๆ พันรอบลำต้น ขนนี้จะช่วยปกคุลมอย่างหนาแน่น ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการช่วยปกปิดสีที่แท้จริงของต้นนั่นเอง

ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีสีขาวหรือสีเหลือง ดอกจะเกิดที่บริเวณ Cephalium ด้านบนของต้น เมื่อมีอายุมากขึ้นจะพบ Cephalium กระจายอยู่รอบต้นบริเวณด้านนอกของโคนก้านดอกและบริเวณรังไข่จะมีขนขึ้นปกคลุม

แคคตัสสกุล Cephalocereus ขยายพันธุ์ได้ง่าย ด้วยการเพาะเมล็ดและการตัดแยกต้น แต่ในระยะแรกของการปลูกเลี้ยงนั้น ควรเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลเป็นพิเศษทั้งในเรื่องการให้น้ำ […]

โรคจากเชื้อโรค

โรคจากเชื้อโรคของแคคตัสมีอยู่ด้วยกัน 3 โรคหลักๆ คือ

1. เชื้อไวรัส (virus) เกิดกับแคคตัสบางสกุลเท่านั้น เช่น สกุล Epiphyllum มีลักษณะเป็นจุดสีเหลืองๆ หรือสีม่วง มีผลในการทำลายดอก สามารถกำจัดได้โดยการตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งแล้วเผาทำลาย

2. เชื้อ Corky Scab เกิดกับแคคตัสในสกุล Opuntia และ Epiphyllum อาการที่พบได้คือ เป็นฝุ่นสนิมหรือจุดบนลำต้น ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อชนิดนี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ต้นเหี่ยวและยุบลง เมื่อพบต้องทำลายทิ้งทันที

3. เชื้อรา มีผลทำให้เกิดรอยถลอกหรือช้ำเน่า กำจัดได้โดยการตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (fungus diseases) และทำลาย หลังจากนั้นให้ปิดปากแผลด้วยผงซัลเฟตหรือยาฆ่าราอื่นๆ

สกุล Rebutia

สกุล Rebutia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากกว่า 70 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ชื่อสกุล Rebutia นั้นตั้งขึ้นเพื่อแสดงความเป็นเกียรติแก่ P. Rebut พ่อค้าแคคตัส สำหรับสกุลนี้มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก ลำต้นอ่อนนุ่ม มักขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ในหัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยเนินหนาม ตุ่มหนามขนาดเล็กประกอบไปด้วยหนามละเอียด ขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งลักษณะแผ่กระจายหรือแนบชิดไปกับลำต้น มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล

ดอกมีลักษณะทรงกรวย ขึ้นอยู่เป็นรอบๆ ต้นเหนือผิวดิน มีมากมายหลายสี ยกเว้นโทนสีฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ส่วนผลมีลักษณะทรงกลม ขนาดเล็กมาก มีหนามเล็กๆ อยู่ 2-3 อัน เมื่อแก่จะมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล

แคคตัสสกุล Rebutia มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาสูงในโบลิเวีย และทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา ในระดับความสูง 3,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะปกคลุม แต่มีความชื้นในบรรยากาศต่ำ ออกดอกมากในฤดูหนาว […]

สกุล Weingartia

สกุล Weingartia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 24 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Weingartia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Wilhelm มีลักษณะเป็นทรงกลม มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ลำต้นเป็นสัน 21 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะรูปไข่ ปกคลุมด้วยปุยนุ่มสีขาว มีขนาดใหญ่กว่า 1.25 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยหนามข้างที่มีลักษณะโค้งงอ หรือแนบชิดไปกับลำต้น ประมาณ 16 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร และหนามกลางที่มีลักษณะคล้ายหนามข้าง มีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล ส่วนปลายหนามจะมีสีเข้มกว่า มีอยู่ประมาณ 3-15 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร

ดอกมีสีเหลืองส้มถึงสีม่วง มักออกเป็นวงตรงกลางยอดของต้น ในบางชนิดจะออกดอกมากกว่า 1 ดอกในเนินหนามเดียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ผลมีลักษณะรูปไข่ มีสีเหลืองเขียวถึงสีเขียวคล้ำ และจะเป็นสีแดงเมื่อแก่ มีขนาดความยาวกว่า […]

สกุล Discocactus

สกุล Discocactus แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ไม่เกิน 20 ชนิด เจริญเติบโตช้า มักขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ ทรงกลมแป้น เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นอาจะจะแตกหน่อ หรือกิ่งก้านได้ ต้นมีหลายสี ตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียวอมน้ำตาล และสีม่วงเข้ม ต้นเป็นสัน 10-25 สัน และมีตุ่มหนามเป็นปุยนุม ประกอบด้วยหนามข้าง 5-20 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 3 เซนติเมตร และมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และหนามกลาง 1 อัน ซึ่งยาวถึง 8 เซนติเมตร หนามทั้ง 2 ชนิด สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน หนามมีหลายสี ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล จนถึงสีดำ

แคคตัสสกุล Discocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบราซิล โบลิเวีย และปารากวัย การนำต้นไปเพาะเลี้ยงที่อื่นนอกถิ่นกำเนิดนั้นมักจะนิยมเพาะต้นจากเมล็ดมากกว่านำต้นที่โตแล้วไปเลี้ยง เพราะต้นจะตายได้ง่าย แคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ บางครั้งอาจะจะใช้ดินผสมก็ได้ แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดี ต้นไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเชียสได้ […]