เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

ลักษณะหนามของแคคตัส

หนามของแคคตัสเกิดจากากรลดรูปของใบกลายเป็นหนามเพื่อช่วยลดการคายน้ำ และป้องกันอันตรายจากคนและสัตว์ สำหรับนามของแคคตัส มี 2 ส่วน คือ 1. หนามกลาง 2. หนามข้าง

จำนวนและลักษณะของหนามจะแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์ของแคคตัส เช่น หนามแข็ง หนามอ่อนนุ่มคล้ายขนสัตว์ หนามรูปหวี หรือ มีปลายงอคล้ายตะขอ เป็นต้น ส่วนมากหนามกลางมักจะแข็งแรงและยาวกว่าหนามข้าง แคคตัสบางชนิดจึงมีเพียงหนามกลาง บางชนิดมีเพียงหนามข้าง และบางชนิดไม่มีหนามเลย ส่วนสีของหนามก็มีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ และบางครั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงสีไปตามสภาพการเลี้ยงอีกด้วย

สกุล Thelocactus

สกุล Thelocactus แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 25 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Thelocactus มาจากภาษากรีก ที่หมายถึง แคคตัสหัวนม (nipple cactus) มีลักษณะทรงกลมหรือทรงกระบอก สีเขียวถึงสีเทาอาจจะขึ้นอยู่เป็ยกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ ก็ได้ โครงสร้างของพูกลีบมีลักษณะเป็นหัวย่อยๆ มากมาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน มีประมาณ 20 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ มักมีปุยสีขาวหรือสีครีมปนอยู่ด้วย ประกอบไปด้วยหนามข้างค่อนข้างเล็ก และแข็งแรงปานกลาง มักขึ้นแผ่กระจายแนบขนานไปกับลำต้น ประมาณ 25 อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 3 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางแข็งแรงกว่าหนามข้าง มีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น โค้งงอ หรืออ้วน และมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีดำ มีอยู่ประมาณ 1-4 อัน

ดอกมีหลายสีด้วยกัน […]

กลุ่ม Rebutia

กลุ่ม Rebutia แคคตัสกลุ่มนี้เป็นพืชพื้นเมืองของทางภาคใต้อเมริกา มีลักษณะรูปร่างลำต้นเป็นทรงหลอดยาว บางพันธุ์ก็มีทรงกลม แตกเป็นกอและออกดอกที่ปลายหลอด (ต้น) ดอกนั้นก็มีหลากหลายสีด้วยกัน เช่น สีส้ม สีเหลือง สีครีม สีชมพู และสีแดง สำหรับสายพันธุ์ ก็มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ ได้แก่ Rebutia haagei , Rebutia costata, Rebutia fiebrigii, Rebutia pseudodeminuta , Rebutia aureiflora , Rebutia pygmaea เป็นต้น

กลุ่ม Cereus

กลุ่ม Cereus แคคตัสกลุ่มนี้เรารู้จักกันในชื่อของกระบองเพชร จึงไม่มีใบหรือ giochids (หนามหรือขนแข็งที่มีปลายโค้งงอ อาจจะอยู่รวมกันเป็นกระจุกๆ ) เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะต้นเป็นทรงกระบอก มีสันและหนามปกคลุม หรือไม่มีก็ได้

แคคตัสในกลุ่มนี้ปลูกเลี้ยงง่ายและชอบแสงแดดมาก มีอยู่ด้วยกันหลายสกุล เช่น Armatocereus , Arrojadoa, Bergerocactus , Borzicactus , Brachycereus , Browningia , Calymmanthium , Carnegiea , Cephalocereus , Cereus , Chamaecereus , Cleistocactus ,Corryocactus , Dendrocereus , Echinocereus , Erdisia , Escontria , Eulychnia , Harrisia , Hildwinters , Jasminocereus […]

การขยายพันธุ์แคคตัสโดยการต่อยอด

การขยายพันธุ์แคคตัสโดยการต่อยอด ปัจจุบันเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะกับแคคตัสพันธุ์ที่มีสีสันต่างๆ ที่ไม่ใช่สีเขียว เช่น สกุล Gymnocalycium นำมาต่อกับต้นตอสีเขียว เช่น สกุล Cereus , Trichocereus หรือ Opuntia ซึ่งมีสารคลอโรฟีลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร ดูดน้ำ และแร่ธาตุ ไปเลี้ยงต้นที่มีสีซึ่งหาอาหารเองไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เป็นการนำส่วนของต้นที่เจริญเติบโตช้าต่อเข้าต้นต่อของต้นที่แข็งแรงและโตเร็วกว่า การต่อยอดช่วยร่นระยะเวลาในการออกดอก ซึ่งตามปกติ แคคตัสจะใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 1-2 อย่างปี กว่าจะเจริญเติบโตจนสามารถออกดอกได้ บางสกุลจะใช้เวลานานถึง 10-20 ปีเลยทีเดียว การต่อยอดจึงช่วยให้ต้นแตกกิ่งก้าน และออกดอกเร็วกว่าปกติ ยกเว้นบางสกุลที่มี cephalium เช่น Melocactus , Discocactus ที่การต่อยอดไม่มีผลในการร่นระยะเวลาการออกดอกนัก

นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการต่อยอดเพื่อจะได้ตัดส่วนที่แตกใหม่ไปใช้ในการแพร่พันธุ์ เนื่องจากแคคตัสบางชนิดไม่แตกสาขาออกไป แต่จะแตกก็ต่อเมื่อนำไปต่อเข้ากับต้นอื่น หรืออีกประกานหนึ่ง คือ เพื่อช่วยในการรักษาต้นที่เสียรากไปเอาไว้ได้ หรือใช้ในการปลูกพันธุ์ที่เติบโตด้วยรากของตัวเองได้ลำบาก ในการต่อยอดแคคตัสนั้นไม่มีการจำกัดอายุของต้นว่าควรเป็นเท่าใด แต่ต้นอ่อนจะสามารถต่อได้ง่ายกว่าเพราะไม่แข็งจนเกินไปนัก ดังนั้นถ้าเป็นแคคตัสที่มีอายุ 1-2 ปี จึงสามารถนำไปต่ดยอดได้ผลเป็นอย่างดี

อุปกรณที่สำหรับใช้ในการต่อยอดมีเพียงที่สะอาดและคมมากๆ เช่น […]